วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เพชร เพชร เพชร

เพชรอยู่ที่ไหนก็เลอค่า
         เพชร ของล้ำค่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไร ก็เป็นเพชรวันยังค่ำ ดังคำกล่าวที่ว่า “คนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และเจ้าสำบัดสำนวน” หมายความว่า คนไทยเป็นคนที่ชอบคำคล้องจอง และชอบพูดเปรียบเปรยให้เห็นภาพที่สามารถแสดงความรู้สึกหรือสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้อย่างชัดเจน ภาษาไทยจึงร่ำรวยไปด้วย สำนวน ภาษิต และคำพังเพย มากมายตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 
        ภาษิต หมายถึง ตามศัพท์ที่เป็นคำกลางๆ ใช้ทั้งทางดี ทางชั่ว แต่โดยความหมายแล้วประสงค์คำกล่าวที่ถือว่าเป็นคติ” และ คำพังเพย มีความหมายว่าหมายถึง “คำกลางที่กล่าวไว้ให้ตีความเข้าเรื่อง”ทั้ง สำนวน ภาษิต และคำพังเพย มักจะใช้รวมๆ ในการเปรียบเปรย ชี้ให้เห็นเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งเป็นการสอนให้รู้ถึงสิ่งที่ควรทำ   และคำพังเพย มีอยู่ไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับ “อัญมณี” ซึ่งในสมัยโบราณนั้น คำที่ใช้เรียกอัญมณีมีเพียงไม่กี่ประเภทคือ เพชร พลอย หยก และ แก้ว เป็นต้น
      ดังนั้น สำนวนทั้งหลายจึงเกี่ยวข้องกับชื่อเหล่านี้สำนวนเกี่ยวกับ เพชร อาทิ “เพชรน้ำเอก” หรือเพชรน้ำหนึ่ง หมายถึง เป็นวิเศษ ยอดเยี่ยม ใช้สำหรับการยกย่องเชิดชูบุคคลหรือผลงานที่มีค่ามาก  ”เพชรร้าว” หมายถึง ไม่บริสุทธิ์ มีตำหนิ  “เพชรตัดเพชร” หมายถึง คนสองคนที่มีความสามารถสูง เก่งกาจทัดเทียมกัน ต้องมาแข่งขันกัน ก็ยากที่จะเอาชนะกันได้   “ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร” เป็นคำอวยพรให้แก่คู่บ่าวสาวให้อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า มีความสุขบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ ยศและความดี , “ขี้เถ้ากลบเพชร” หมายถึง ตอนแรกทำได้ดี แต่ต่อมามีข้อบกพร่องทำให้เสียหาย , “เพชรในตม” หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าหรือคนที่ดีมีความสามารถสูงแต่ไปอยู่ในแหล่งที่ไม่ดีการเปรียบเปรยเหล่านี้ ทำให้การสรุปความคิดมีความชัดเจน เมื่อเกิดอะไรขึ้น ก็สามารถอธิบายได้ด้วยสำนวนภาษาที่ทุกคนสามารถเข้าใจตรงกันได้ แม้ว่าบางสำนวน อาจไม่คุ้นหู หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่การพยายามทำความเข้าใจกับความหมายเหล่านี้ ลองเอามาใช้ในชีวิตประจำวันดู ก็นับเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการใช้ภาษาไทย และยังเป็นการซึบซับคติสอนใจซึ่งเป็นคุณค่าความดีงามจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น