วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บ้านเรานะ

พอเพียง
    การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต    จะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจเป็นความสัมพันธ์ทางบวกหรือทางลบ จะเห็นได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย  เช่น  การดำรงชีวิตของพืช  สัตว์ และสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอื่นๆ
     การพึ่งพาอาศัยกันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ แสงแดด มีการใช้พลังงานและแลกเปลี่ยนสารอาหารซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่ดำเนินไปเป็นระบบภายใต้ความสมดุลของธรรมชาติ ดังนั้นหากระบบมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องไปทั้งระบบ และทำให้เกิดปัญหากับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน
      เนื่องจากมีความต้องการปัจจัยพื้นฐานเหมือนกันแต่มีจำนวนจำกัด หรือมีไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้เป็นปกติ  เช่น  การแย่งชิงน้ำ  อาหาร  แสงสว่าง  ที่อยู่อาศัย   เช่น การที่พืชสองชนิดขึ้นอยู่ใกล้เคียงกันจะแก่งแย่งกันครอบครองพื้นที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  บางครั้งฝ่ายที่อ่อนแอกว่าจะถูกแก่งแย่งจนตายไปธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  ให้เสื่อมโทรมก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่มนุษย์  เนื่องจากเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นการยากที่จะทำให้กลับมามีสภาพดังเดิม
      การเปลี่ยนแปลงอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์  เช่น  การทำลายป่า  การถมคลอง  หนอง  บึง  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง  น้ำท่วม  น้ำป่าไหลหลากอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นการรักษาระบบนิเวศให้คงสภาพตามธรรมชาติ  หรือก่อให้เกิดความ    สมดุลอย่างเสมอจะอำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างมากมายแนวความคิดในเรื่องของนิเวศพัฒนาจึงเกิดขึ้น
    นายปราโมทย์ โชติช่วง  ณ ราชบุรี
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น