วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รับรู้อารมณ์

สติ
                 ทางที่เป็นทางให้รับรู้อารมณ์ มี 6 ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ  ทางตา(จักขุปสาทรูป) เป็นทางให้มีการเห็น   หู (โสตปสาทรูป)เป็นทางให้มีการได้ยิน จมูก(ฆานปสาทรูป) เป็นทางให้ได้กลิ่น ลิ้น(ชิวหาปสาทรูป)เป็นทางให้รู้รส   ทางกาย(กายปสาทรูป)   เป็นทางให้รู้กระทบสัมผัส เย็น ร้อน  เป็นต้นประสาทสัมผัส จึงมี 5 ประการตามที่กล่าวมา  ส่วนทางใจ ที่เป็นทางที่หก คือ   รู้สภาพธรรมทุกอย่าง ทั้ง สิ่งที่เห็น เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส และเรื่องราว ความคิดนึกก็รู้ได้ทางใจครับ   ดังนั้น ประสาทสัมผัสทั้งหกตามที่เข้าใจกันทางโลก     ตามที่ผู้ถามถามมานั้น ในความเป็นจริง ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิกและรูป   ซึ่งก็คืออาศัยจิตรู้สิ่งต่างๆ    ซึ่งประสาทสัมผัสที่หก   ทางโลก  คือ รู้เหตุการณ์ต่างๆ ล่วงหน้าเป็นต้น   ซึ่งในความเป็นจริงในทางธรรม ก็คือ อาศัยทางใจ ทำให้มีการคิดนึก ตรึกไปเป็นเรื่องราวที่คิดนึก ถึงสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรง แต่ที่สำคัญก็เป็นเพียงการคิดนึกเท่านั้นครับ   ซึ่งบุคคลที่สามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ถูกบ้างก็อาจเป็นเพราะเทวดาดลใจประการหนึ่ง หรือ เคยเป็นผู้อบรมฌาน สมถภาวนามาในอดีตชาติก็สามารถระลึกถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าได้บ้าง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไปครับ       ส่วนการจะรู้จักนิสัยของบุคคลใด   ก็ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ และใส่ใจถึงจะรู้ นอกเสียจากผู้มีปัญญาดังเช่นพระโพธิสัตว์ ย่อมรู้ลักษณะของบุคคลว่าคนนั้นเป็นอย่างไรครับ     สำหรับผู้ที่มีประสาทสัมผัสที่หกที่แท้จริง คือ ผู้ที่อบรมปัญญา ได้ฌานในขณะนั้น ก็สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้องด้วยกำลังของปัญญา ระดับฌานครับ  ซึ่งก็ต้องอบรมเหตุให้ถูกต้อง ประสาทสัมผัสที่หก ก็จึงไม่พ้นจาก ทางใจที่เป็น จิต เจตสิกทีเกิดขึ้น ประสาทสัมผัสที่หก   แต่การมีประสาทสัมผัสที่หก ที่ล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ประเสริฐ เพราะไม่เป็นไปเพื่อละทุกข์ สละ ละคลายกิเลสเลยครับ    แต่ประสาทสัมผัสที่หกที่ประเสริฐ คือ การคิดนึกที่ประเสริฐ คือ   ปัญญา   ความเห็นถูกที่เกิดพร้อมกับจิตที่เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าไม่ใช่เรา      นี่เป็นประสาทสัมผัสด้วยปัญญา และเป็นไปเพื่อดับทุกข์แท้จริง ละกิเลสประการต่างๆ เพราะความเจริญขึ้นของปัญญาครับ เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดครับ ขออนุโมทนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น