วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมาธิ สติ ปัญญา

สมาธิ สติ ปัญญา
       
 ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำความเข้าใจหน้าที่ของ สติ สมาธิ ปัญญา ก่อนก็จะพอบรรเทาในการกำหนดภาวนา ตามหลักของการปฏิบัติกรรมฐานนั้นๆ เพื่อบรรเทาการดำรงจิตไว้อย่างไม่ถูกต้องในการปฏิบัติธรรม ดังนี้.

     1. สติ มีหน้าที่ กั่น หรือดักกระแสสภาวะที่ปรากฏ ที่เป็นปัจจุบันขณะๆ หรือทันปัจจุบันนั้นเอง
     2. สมาธิ มีหน้าที่ จับ หรือหยุด หรือใจเป็นหนึ่งขึ้น กับกระแสสภาวะที่ปรากฏ
     3. ปัญญา มีหน้าที่ ปล่อย, วาง, คลาย, ตัด, หรือ ดับ สภาวธรรมที่ปรากฏ

ปราโมทย์ โชติช่วง


        เมื่อสะสมมากๆ เข้า ก็จะกลายเป็นยึดมั่นไปเองแบบไม่รู้ตัว สติ สมาธิ ปัญญา ก็ไม่เจริญขึ้นตามที่ควร แต่จะกลาย   เป็นความเคร่งความเครียดที่เกิดกับตนเองจนเกิดการติดตามหลอกหลอนตนเอง จนไม่กล้าปฏิบัติธรรม หรือ ปฏิบัติตามตัณหาแบบไม่อยากมีไม่อยากเป็นเมื่อเกิดทุกข์ไม่ว่าจากสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะรอบข้างกดดันหรือเกิดจากกิเลสตนเองภายในกดดัน แบบกำปั่นทุบดิน ซึ่งจะมีทุกข์ที่ทวีคูณมากขึ้นเป็นเสียส่วนมาก เป็นเพราะการดำรงจิตไว้อย่างไม่ถูกต้องนั้นเอง
       สมาธิ" ความตั้งใจมั่น"ปัญญา" ความรอบรู้ เป็นคนละอย่าง ชื่อมันศีล สมาธิ ปัญญาแต่ว่าสิ่งทั้ง ๓ นี้ ไม่เคยทิ้งกันสักครั้ง มันเกาะเกี่ยวกันอยู่เสมอเหมือนกับรสมันเฝื่อน มันขมมันขื่นนั่นแหละ แต่ว่าความเอร็ดอร่อยมันกลมเกลียวกันอยู่ มันไม่ได้ไปไหน ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี "ศีล" มันก็เรื่องกายกับวาจา "สมาธิ" กับ "ปัญญา" มันก็เรื่องจิต มันก็มี "กาย" กับ "จิต" นั่นแหละคนเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่าไปเฉยๆหรอก สิ่งเหล่านี้มันก็ออกมาจากกายกับจิตเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อรวมแล้ว คนเรานั้นก็มีกายกับจิตอย่าไปคิดอะไรให้มันมากมายเกินไปกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น